คำกริยาที่มีหน่วยกรรม

คำกริยาสกรรม
คือคำกริยาที่มีนามวลีตามหลัง นามวลีนั้นทำหน้าที่เป็นหน่วยกรรม เช่น กิน ฟัง อ่าน เกี่ยว ในตัวอย่างดังนี้

-ฉันกินขนม

-พ่อฟังข่าว

-น้องอ่านหนังสือ

-ชาวนาเกี่ยวข้าว

นามวลี ขนม ข่าว หนังสือ ข้าว ทำหน้าที่เป็นหน่วยกรรมของคำกริยาสกรรม กิน ฟัง อ่าน เกี่ยว ตามลำดับ

คำกริยาทวิกรรม
คือคำกริยาที่มีนามวลี ๒ นามวลีตามหลัง นามวลีแรกทำหน้าที่กรรมตรง ส่วนนามวลีที่ ๒ ทำหน้าที่กรรมรอง เช่น สอน ป้อน ให้ แจก อบรม ในตัวอย่างต่อไปนี้

-เขาสอนภาษาไทยเด็ก ๆ

-พี่ป้อนข้าวน้อง

-แม่ให้เงินลูก

-ผบ.ตร.แจกรางวัลตำรวจดีเด่น

-อาจารย์ใหญ่อบรมมารยาทนักเรียน

นามวลีแรกคือ ภาษาไทย ข้าว เงิน รางวัล มารยาท ทำหน้าที่เป็นกรรมตรงของคำกริยา สอน ป้อน ให้ แจก อบรม ตามลำดับ ส่วนนามวลีที่ ๒ คือ เด็กๆ น้อง ลูก ตำรวจดีเด่น นักเรียน ทำหน้าที่เป็นกรรมรอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น